LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

  • Home
  • Blog
  • การจัดการความรู้
  • ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การสร้างความประทับใจในการบริการ
January 4, 2010
กลยุทธ์การแข่งขันทางการตลาด
January 4, 2010
Published by thanyaluk on January 4, 2010
Categories
  • การจัดการความรู้
  • การพัฒนาตนเอง
  • การพัฒนาองค์กร
  • กาารพัฒนาห้องสมุด
  • ความรู้เพื่อการทำงาน
  • คุณภาพชีวิต
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
Tags
  • ความขัดแย้งทางเทคนิค
  • ความขัดแย้งเชิงกายภาพ
  • ความคิดสร้างสรรค์
  • นวัตกรรม

โครงการอบรมทางไกลผ่านระบบดาวเทียม

เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2552  (เวลา 09.00 – 12.00 น.)  

สถานที่           ห้องมินิเธียเตอร์ ชั้น 1 อาคารวิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยากร         ผศ.ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์  ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรคค์สถาบันทริซประเทศไทย  

สรุปเนื้อหาการบรรยาย  

                     Altshuller มองว่าความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหานั้นจะต้องมีวิธีการคิดที่เป็นระบบ สามารถเรียนรู้กันได้ และปัญหาทุกอย่างที่ประสบในปัจจุบันเคยมีคนแก้ปัญหาที่คล้ายคลึงกันในอดีตมาแล้วเกือบทั้งสิ้น

                    ความขัดแย้งทางเทคนิค  และการยกตัวอย่างการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางเทคนิค ซึ่งจะต้องลดต้นทุนของวัสดุโดยการลดความหนาของกระป๋อง แต่จะทำให้กระป๋องมีความแข็งแรงลดลง 

                    ความขัดแย้งเชิงกายภาพ  ยกตัวอย่างเช่น ปลากระป๋องสยองขวัญ เปิดเจอหนอนยั้วเยี้ย  ต้องการให้กระป๋องใสเพื่อให้เห็นคุณภาพของอาหารที่อยู่ข้างในขณะเดียวกันกระป๋องจะต้องไม่ใสเพื่อไม่ให้แสงเข้าไปทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ การแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงกายภาพโดยใช้หลักการของการแบ่งแยก หลักของการแบ่งแยก (Separation) เช่น การแบ่งแยกเชิงสถานที่ (Separation) การแบ่งแยกในเชิงเวลา (Time) การแบ่งแยกในเชิงส่วนย่อยกับภาพรวม (Parts and The Whole) การแบ่งแยกโดยการกำหนดเงื่อนไข (Condition)

  •  การแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงกายภาพโดยใช้หลักการแบ่งเชิงพื้นที่  เช่น กระป๋องบรรจุอาหาแบบก้นใสเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อแต่ไม่ทำให้คุณภาพอาหารเสื่อมเร็ว
  • การแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงกายภาพโดยใช้หลักการแบ่งแยกเชิงเวลาปัญหาการจัดโชว์หนังสือ ใช้แนวคิดของหนังสืออิเล็กทรอนิคมาใช้ในการจัดโชว์หนังสือแบบหมุนเวียนให้ลูกค้าได้พลิกอ่านหน้าตัวอย่างโดยลงทุนติดตั้งจอแบบสัมผัสแทนชั้นโชว์หนังสือ
  • การแก้ปัญหาโดยการวิเคราะห์สสาร – สนาม (Substance-Field Analysis) เช่น ต้องการใช้ค้อนทุบหินให้แตก แต่หินแข็งมากจึงทำได้ไม่สำเร็จ หรือเกิดเศษหินปลิวกระจาย เป็นสภาวะปัญหาที่ไม่สามารถเขียนแสดงในรูปของความขัดแย้งได้ ดังนั้นอัลท์ชูลเลอร์จึงได้เสนอแบบจำลองของสสาร – สนามขึ้นเพื่อใช้เขียนวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหาระบบที่มีการทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์หรือระบบก่อให้เกิดผลเชิงลบที่เป็นอันตรายขึ้น

การยกตัวอย่างการใช้ทรัพยากรในการแก้ปัญหา เช่นปัญหาการทดสอบความคงทนต่อการกัดกร่อนของชิ้นทดสอบในภาชนะบรรจุน้ำกรด

การยกตัวอย่าง การแก้ปัญหาโดยใช้  Effects เช่น ไฟฉายไร้ถ่านใช้ Effect อะไรในการแก้ปัญหาถ่านหมดบ่อย

วิธีการของตัวช่วยระดมสมอง (Guided Brainstorming Toolkit) เป้าหมายอยู่ที่การสร้างสรรค์เครื่องมือต่าง ๆ ของ TRIZ ใช้งานได้ง่ายขึ้นโดยยังคงรักษาไว้ซึ่งแนวทางความทรงพลังของ TRIZ 3 เฟส – 6 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาปัญหา

  •   ระบุสิ่งที่ต้องการแก้ไขปรับปรุง
  •   อะไรเป็นช่องว่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ต้องการ
  •   อะไรเป็นอุปสรรคที่มากีดกั้นให้เกิดช่องว่างนี้

การตอบคำถามข้างต้นอาจจะยังไม่สามารถนิยามปัญหาให้ชัดเจนได้

  •   ให้ทบทวนสภาพปัญหาอีกครั้งหนึ่ง
  •    รวบรวมข้อมูลที่หาได้
  •    นิยามปัญหาใหม่อีกครั้ง
  •    ตั้งโจทย์ผิด = ได้คำตอบผิด

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าหมาย

  •     ผลลัพธ์สุดท้ายในอุดมคติที่ต้องการมีหน้าตาอย่างไร
  •     จะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จ
  •      ผลลัพธ์ขั้นต่ำสุดที่ยอมรับได้เป็นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ค้นหาโจทย์  โอกาส 3 อย่างในการเพิ่มความเป็นอุดมคติ

  •      ปรับปรุงฟังก์ชั่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์
  •      กำจัดฟังก์ชั่นที่ก่อให้เกิดอันตราย
  •      ขจัดความขัดแย้ง                                                
Post Views: 464
Share
0
thanyaluk
thanyaluk

Related posts

July 25, 2024

การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)


Read more
May 30, 2024

แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)


Read more
June 27, 2023

จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and Adjustment


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)