LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

Flood Mapping คิดเบี้ยประกันภัยตามพื้นที่เสี่ยง

  • Home
  • Blog
  • การจัดการความเสี่ยง
  • Flood Mapping คิดเบี้ยประกันภัยตามพื้นที่เสี่ยง
ระบบนิเวศธุรกิจพลังในการแข่งขันที่เหนือกว่า
May 4, 2011
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
August 8, 2011
Published by andychuzley on June 1, 2011
Categories
  • การจัดการความเสี่ยง
Tags

มหันตภัยจากภัยธรรมชาติที่เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้นในระยะหลังๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำท่วมครั้งใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เมื่อปีที่ผ่านมารวมไปถึงต้นปีนี้ส่งผลกระทบมาถึงธุรกิจประกันภัยโดยตรงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการบริหาร จัดการการรับประกันภัยน้ำท่วมจริงจังมากขึ้น

ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย สำนัก งานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า คปภ.ให้ความสำคัญถึงการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมภัยธรรมชาติต่างๆ มาหลายปีแล้ว ซึ่งในแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2 ได้เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ในอนาคตข้างหน้าจะมีผลกระทบมาถึงภาคส่วนต่างๆ จึงกำหนดเป็น มาตรการดำเนินการ 4 ข้อ ซึ่งภัยธรรมชาติอยู่ในมาตรการที่ 1 ว่าด้วยการเสริมสร้างความเชื่อมั่นตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยและการเข้าถึงระบบประกันภัยของประชาชนทุกระดับ

มหันตภัยเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ กำหนดแผนการดำเนินงานและศึกษาแนวทางต่างๆ รองรับ โดยศึกษารูปแบบของประเทศเพื่อนบ้านที่มีสภาวะแวดล้อมใกล้ประเทศไทย อาทิ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน เกาหลี ใต้ ดูรูปแบบทำอย่างไรเพื่อนำมาเป็นแนวทางศึกษา แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้ มีหน่วยงานองค์กรเฉพาะกิจบริหารจัดการมหันตภัยโดยบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทรับประกันภัยต่อร่วมกันจัดตั้งขึ้นเป็น “โค อินชัวรันส์” หรือสมทบเงินเป็นเงินกองทุนหรือเข้ามาถือหุ้นในบริษัทแห่งนี้โดยภาครัฐต้องมาร่วมดูแลด้วย

“สำหรับมหันตภัยหลักๆ เรามองน้ำท่วม แผ่นดินไหวจะให้สินค้าตัวนี้ออกมาก่อนใช้กับบ้านอยู่อาศัย ก่อนขยายไปถึงลูกเห็บในระยะยาว ส่วนที่ 2 คือการจัดทำโซนนิ่งให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของพื้นที่ เบี้ยประกันจัดเก็บเพียงพอบนหลักการบริษัทประกันภัยอยู่ได้ ประชาชนได้รับความคุ้มครอง คปภ. สมาคมต้องผลักดันสำเร็จเป็นรูปธรรม”

ประธานคณะกรรมการประกันภัยทรัพย์สิน สมาคมประกันวินาศภัย ให้ความเห็นว่าปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นคือ 1.วงจรความเสียหายมหันตภัยสั้นลงเหลือ 5-10 ปีจากเดิม 100 ปี 2.ความเสียหายกินพื้นที่กว้างขึ้น และ 3.การสะสมของภัยมากขึ้นทุกปี บริษัทรับความเสี่ยงมากขึ้น มองว่าถ้าปล่อยไปอันตราย หากความเสียหายมาก บริษัทประกันภัยไม่กล้ารับ ผู้บริโภคไม่ยอมรับ

ทางคณะกรรมการชุดนี้เตรียมความ พร้อมหลายด้าน 1.รีบศึกษาน้ำท่วมคุ้มครองกว้างพอหรือไม่ เป็นที่มาของการสร้างกรมธรรม์บ้านอยู่อาศัยมองควบภัยน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่จะมาพร้อมกัน คำนวณ 3 ภัยคุ้มครองชัดเจนไม่งั้นอุดไม่หมด มีช่องว่าง 2.อย่างน้อยมีข้อมูลจากดาวเทียมรู้ที่ใดเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมมีประวัติศาสตร์ย้อนไป 5 ปี ยิ่งหากได้ข้อ มูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) หรือสทอภ.ที่เรากำลังร่วมกันจัดทำแผนที่ความ เสี่ยงภัยน้ำท่วม (Flood Mapping) กันอยู่ การมีแผนที่น้ำท่วมสามารถกำหนดได้ว่าแต่ละพื้นที่มีความเสี่ยงอย่างไร พื้นที่ไหนน้ำท่วมเบี้ยจะลดลง

“เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วเราเอามาดูที่ใดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยเอามาเวิร์กกับชมรมสินไหม ถ้าส่วนไหนน้ำท่วม 30 ซม. 1 เมตร 2 เมตรความเสียหายเท่าไหร่เกิดกับสิ่งก่อสร้าง เครื่องจักร สต็อกสินค้าและกี่เปอร์เซ็นต์อีกด้านมาบอกตัวเลขความเสีย หายเท่าไหร่เพื่อประเมินความเสียหายที่เป็นไปได้เกิดกับกรมธรรม์ที่รับอยู่จากน้ำท่วม เช่น กรณีท่วม 1 เมตรความเสียหาย เท่าไหร่ ทำเป็น Flood Zone Flood Model กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยเท่าไหร่ ดูในส่วนที่ผู้เอาประกันภัยมีมาตรการป้องกันมาตรการลดความเสี่ยงภัย หลีกเลี่ยงน้ำท่วมได้ควรได้ส่วนลดเบี้ยประกันเท่าไหร่ เป็นงานที่เราทำกัน”

การทำแผนที่ความเสี่ยงภัยจะเสร็จในอีก 6 เดือนข้างหน้านี้จะเริ่มจาก 16 จังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีนก่อนขยายไปยังปิง วัง ยม น่าน แม่น้ำมูล ชี ให้ครบทุกสายใช้เวลา 2-4 ปี เป็นนโยบายที่ทางคณะกรรมการประกันภัยทรัพย์สินกำหนดไว้แล้วอาจจะใช้เวลา 3-4 ปีเพื่อรองรับนโยบายของคปภ.ในการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยพื้นฐาน ในอนาคตสามารถก่อตั้งพูลน้ำท่วมหรือภัยธรรมชาติขึ้นมา

Post Views: 485
Share
0
andychuzley
andychuzley

Related posts

June 27, 2023

การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


Read more
September 25, 2018

โครงการรณรงค์ป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ


Read more
April 8, 2016

โครงการประชุมสามัญ และประชุมวิชาการประจำปี 2558 ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา เรื่อง ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)