เรื่อง มายาทการทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคม
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2554 (เวลา 13.30 – 16.30 น.)
วิทยากร ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
การปรับปรุงตนเองเพื่อสร้างสัมพันธภาพกับสังคม สังคมไทยเป็นสังคมที่ยังถือความเชื่อดั้งเดิมมาก พฤติกรรมหรือการแสดงออกต่อสิ่งที่รับรู้ รับเห็น จากบุคลิกภาพของคนในลักษณะต่างๆ พฤติกรรมที่จะแสดงความพึงพอใจหรือไม่พอใจ อย่างไรก็ตามก็หลีกเลี่ยงความเป็นปุถุชนไม่พ้นตามหลักจิตวิทยา กล่าวคือชอบพอสิ่งที่เจริญตาเจริญใจ อคติ 4 ที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ อัน ได้แก่ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัวจึงเป็นสิ่งที่คนไทยหลีกเลี่ยงไม่พ้นคนไทยชอบลักษณะที่แสดงออกภายนอก (Extrinsic Value) ถือเอาความสะอาดสวยงามกิริยามารยาทดีงาม หรือลักษณะการเป็นผู้นำที่ดีความพึงพอใจไม่พอใจและการกำหนดพฤติกรรมที่จะปฏิบัติต่อกัน จึงเป็นผลจากดังกล่าว กว่าจะนึกนิยมชมชอบในอุปนิสัย (Character) ก็ปล่อยให้อคติครอบงำ และเป็นเครื่องรอนความยุติธรรมไปเสียแล้ว
เวอร์จิเนีย แบลลาร์ด (Virginia Bailard) และรัท สตรังค์ (Ruth Strang) ได้กล่าวถึงวิธีการปรับปรุงบุคลิกภาพไว้ ดังนี้
1. ถ้าท่านเป็นสมาชิกใหม่ในวงงาน จงเข้าหาเพื่อนก่อนที่จะทำให้เพื่อนเข้าหาเรา โอภาปราศัย และจงเอาใจใส่ต่อเพื่อนร่วมงานฉันมิตร กล่าวสิ่งที่น่าสนใจของเพื่อน อย่ากล่าวถึงสิ่งที่น่าสนใจของตนเอง หาโอกาสร่วมงานสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ
2. การสร้างตัวเองให้เป็นที่รู้จักของเพื่อนฝูงให้ดีขึ้น จงตรวจสอบ และปรับปรุงในส่วนที่ตนเองบกพร่อง จงตรวจสอบตัวเองว่ามีส่วนดีอย่างไรบ้าง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเอง จงปรับปรุงข้อบกพร่องของตัวอง เช่น ถ้าไม่ชอบออกกำลังกายต้องพยายาม เล่นกีฬาต่าง ๆ อย่าท้อใจว่าผู้อื่นมองตนในแง่ไม่ดีเสมอ
3. การทำตนเป็นที่พอใจในหมู่เพื่อนฝูง จงเอาใจเขามาใส่ใจเรา จงคิดก่อนพูด จงคิดถึงเพื่อนทุกคนของท่านในแง่กุศลเสมอ อย่าคิดในแง่อกุศล วิพากษ์วิจารณ์ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความเที่ยงธรรม
4. การสร้างอารมณ์ขัน จงมองทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสนุกขบขัน จงสัมพันธ์กับคนที่มีอารมณ์ขัน จงพยายามศึกษาว่าวิธีการพูดอย่างไร จึงจะทำให้คนขบขัน หมั่นอ่านบทการ์ตูนและขำขัน ในหนังสือ และหนังสือพิมพ์เสมอ
5. การสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง จงนับหนึ่งถึงสิบเมื่อท่านคิดจะขอร้องให้คนช่วย จงพิจารณาช่วยตนเอง จงพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวของท่านเอง ถึงแม้จะยากเข็ญอย่างไร จงเขียนรายการบางสิ่งบางอย่างที่ท่านไม่กล้าทำตามลำพังคนเดียวและจงพยายามแก้ไข พยายามแก้ไขสิ่งที่ท่าน ไม่กล้าทำคนเดียวและจงทำเมื่อรู้ว่าท่านมีความสามารถอย่างสูง
6. ถ้าท่านต้องการเพื่อน จงคล้อยตาม พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงกันบ้างพอสมควร จงช่วยเพื่อนของท่าน เพื่อให้เขาช่วยตัวเองมากที่สุด จงสร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้เขาช่วยตัวเองมากที่สุด จงสร้าง ความเชื่อมั่น และนับถือความเชื่อมั่นในเพื่อนของท่านเสมอ จงเข้าใจในตัวเพื่อน ว่าเพื่อนมีความรู้สึก ความสนใจ และต้องการอะไร
7. การแก้ความรู้สึกอิจฉาริษยาต่อเพื่อนฝูง จงทำบางสิ่งบางอย่างที่ท่านทำได้ และจงทำให้ดีที่สุด จงสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเองโดยคิดถึงผลงานที่ดีเด่นของท่านที่ล่วงมาแล้ว
8. เทคนิคในการครองใจบุคคลอื่นๆ จงแสดงความพอใจต่อเพื่อนฝูง จงกระตุ้นให้เขาเกิด ความต้องการ จงให้การสนับสนุนในสิ่งที่ดีงามแก่เพื่อนของท่าน จงฟัง และแสดงว่าท่านเอาใจใส่ต่อเขา
9. ศิลปะบางประการในการสนทนา คุยเรื่องที่น่าสนใจ และใครๆ ก็สนใจ ถึงแม้เขาจะสนุกขบขันกับเรื่องราว และประสบการณ์ของเราเพียงไรก็ตาม จงกล่าวถึงเรื่องราวของเราแต่น้อย ให้โอกาสแก่เพื่อนได้พูดบ้าง อย่าพยายามอวดฉลาด เท่ห์ หรือตลกเสียคนเดียว
10. การปรังปรุงอุปนิสัยบางอย่าง ลดความโกรธของท่านโดยการทำงานบางอย่างที่จะเกิดประโยชน์ แทนที่จะบันดาลโทสะออกมาโดยไร้เหตุผล หลีกเลี่ยงการเล่นแบบเด็ก ๆ และการตลกโดยผู้อื่นได้รับความอับอาย เอื้อเฝื้อเผื่อแผ่เล็ก ๆ น้อยๆ อยู่เสมอ พูดว่าจะทำอะไรแล้วจงทำในสิ่งนั้น
11. การปรับปรุงสิ่งที่ดีบางอย่าง พยายามให้รูปร่าง การแต่งกายของท่านดึงดูดจิตใจแก่ผู้พบเห็น จงสนใจบุคคลอื่นให้มากกว่าตัวท่านเอง รู้จักกาลเทศะว่า โอกาสไหนควรจะทำอย่างไร จงสงบเสงี่ยม ถึงแม้ในเวลาที่ท่านเคอะเขิน
12. การแก้การตื่นเต้นเมื่อท่านต้องการพูดต่อหน้าชุมนุมชน ต้องเชื่อมั่นและเข้าใจในเรื่องราวทั้งหมดที่ได้ค้นคว้ามาแล้ว พยายามฝึกหัดพูดมาล่วงหน้าก่อน จ้องสายตาไปยังคนที่หนึ่ง แล้วจ้องไปยังบุคคลอื่น ๆ ขณะพูด พยายามพูดให้เป็นการคุยกับฟัง อย่าให้เป็นปาฐกถาเกินไป
13. สิ่งที่ต้องจำ เมื่อท่านประสบความล้มเหลว ทุกท่านประสบความล้มเหลว และมีโอกาสแก้ตัวเสมอ ความล้มเหลวคือบทเรียน ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างสัมฤทธิ์ผลไปหมด ทุกๆ คนจะต้องทำงานบางสิ่งบางอย่างเท่านั้นให้สัมฤทธิ์ผล
14. ทัศนคติที่ดีจะสร้างความพึงพอใจในการทำงาน จงทำให้มากกว่าที่ท่านคาดหวังเล็กๆ น้อยๆ เสมอ จงให้ความร่วมมือในการทำงาน ถ้าท่านได้รับคำแนะนำจากเพื่อนร่วมงาน จงสนใจในงานของผู้อื่นบ้างพอสมควร
15. ทัศนคติที่ดีย่อมสร้างความสุขใจในการแต่งงาน อ่านตำรับเพื่อหาความรู้ ความเข้าใจในชีวิตสมรส หางานอดิเรก กีฬาฯลฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายชอบมาร่วมทำกัน ต้องระลึกเสมอว่า การแต่งงาน คือการให้และการรับระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ต้องมีความรักนับถือ เห็นอกเห็นใจ และรับผิดชอบร่วมกัน
ที่เสนอมาทั้งหมดนี้ ก็พอจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของท่านให้ดีขึ้น มีมนุษยสัมพันธ์ดีขึ้นกับบุคคลทุก ๆ คนในวงงาน ในวงสมาคม แต่ก็มิอาจกล่าวให้หมดได้ ถึงกระนั้นก็เชื่อแน่ว่าท่านผู้อ่านคงจะเห็นลู่ทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพได้พอสมควร พร้อมกันนี้ขอเสนอแนวทางปฏิบัติซึ่งบางท่านได้วางหลักการไว้ ดังนี้
การสร้างบุคลิกลักษณะที่ดีให้กับตนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ หากมีบุคคลลักษณะดีก็จะเป็นที่ชื่นชอบแก่ใครๆ ที่คบหาสัมพันธ์ด้วย แอนดรู อาร์เนกี ผู้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจอันยิ่งใหญ่ของอเมริกา ได้ถือเอาบุคลิกลักษณะเป็นความสำคัญสิ่งแรกที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จการเป็นบุคคลที่ชื่นชมยินดีของบุคคลอื่นๆ นั้น ต้องประกอบด้วยสมบัติหลายประการดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้เข้าถึงจิตใจคน
2. มีจุดมุ่งหมายอันแน่นอน ทำอะไรก็ทำจริงจัง
3. มีการแต่งกายที่เหมาะสม
4. มีท่าทีและกิริยาอาการเคลื่อนไหวที่ดี
5. น้ำเสียงนุ่มนวลชวนฟัง
6. มีความสัตย์ซื่อต่อความตั้งใจ
7. รู้จักใช้ถ้อยคำพูดเหมาะกับกาลเทศะ เหมาะแก่ผู้ฟัง
8. เป็นคนคงเส้นคงวา
9. มีอารมณ์ขัน
10. ไม่เห็นแก่ตนมากเกินไป
11. แสดงสีหน้าเป็นมิตรกับคนทั่ว ๆ ไป
12. นึกคิดไปแต่ในส่วนที่ดี
13. มีความกระตือรือร้น
14. มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงดี
15. มีปฏิภาณไหวพริบ
16. มีศิลปะในการคบหาสมาคมกับคน และเพื่อนร่วมงาน
17. มีความรู้รอบตัวดี
18. เป็นนักฟังที่ดี
19. มีศิลปะในการพูด พูดด้วยความจริงใจ
20. มีศิลปะดึงดูดจิตใจผู้พบเห็น
บุคคลในวงงานถ้าจะแบ่งแยกออกไปมีอยู่ 4 กลุ่ม ด้วยกันคือ
(1) กลุ่มข้างบน คือ ผู้บังคับบัญชาเหนือเราทุกระดับ ถ้าเป็นหัวหน้างานก็หมายถึงหัวหน้างานขั้นสูงขึ้นไป
(2) กลุ่มข้างล่าง คือ ใต้ผู้บังคับบัญชาของเรารวมตลอดไปถึงคนงาน คนยามเฝ้าประตู
(3) กลุ่มข้างขวา คือ เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ที่เสมอกับเรา
(4) กลุ่มข้างซ้าย คือ ประชาชน ลูกค้าที่มาติดต่อที่เราปกครองหรือรักหรือรับใช้เขา
ดังนั้น การที่จะเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี หรือเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็ต้องเข้ากับบุคคลทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวแล้ว เพราะ
1. ถ้าเข้ากับผู้บังคับบัญชาได้ ผู้บังคับบัญชาจะไว้วางใจเราและสนับสนุนการงานของเราเราสบายใจได้ไม่กลัวจะถูกคอยจับผิด ผู้บังคับบัญชาไม่ระแวง แต่เราระวัง
2. ถ้าเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ หรือคนที่เสมอกับเราได้เขาจะช่วยงานของเราได้ผลและไม่เป็นศัตรูกับเรา เราจะสบายใจ เมื่อผู้บังคับบัญชาดึงเพื่อนร่วมงานดัน จ้ำจี้จ้ำไช ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เราวางใจได้ทำให้เรารักคนรักงานได้
3. ถ้าเข้ากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือบุคคลผู้ต้องช่วยเหลือเราในการดำเนินงานให้สำเร็จได้โดยได้รับความเคารพนับถือเป็นที่ยกย่องก็จะทำให้อยู่ในที่ทำงานได้อย่างมีความสุข ไม่จ้ำจี้จ้ำไชทั้งต่อหน้าและลับหลัง เราวางใจได้ ทำให้เรารักคนรักงานได้
4. ถ้าเข้ากับประชาชน ลูกค้าผู้มาติดต่อได้ เขาจะเป็นมิตรของเราช่วยทำงานบางอย่างให้เราได้ เช่น ช่วยโฆษณาความดีของเรา งานของเราหรือสรรเสริญเยินยอ เขาช่วยเราได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้
ถ้าเราเข้ากับคนทั้ง 4 กลุ่มนี้ได้ จะทำอะไรก็ได้ผลดี มีความสบายในการปฏิบัติงานตัวเราก้าวหน้าหรือไม่ก้าวหน้าอยู่ที่คนทั้ง 4 กลุ่มนี้
วิธีทำให้ผู้บังคับบัญชาชอบ
เทคนิคของการเข้ากับเพื่อนร่วมงานระดับเดียวกัน
เข้าหาเขาก่อน มีความจริงใจต่อเขา หลีกเลี่ยงการนินทาเขา อย่าซัดทอดความผิดให้เขา ยกย่องชมเชยเขาในกรณีที่สมควร ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจเสมอ แจ้งให้เขาทราบโดยด่วนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ฟังความเห็นเขาบ้าง หลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเขา เสมอต้นเสมอปลาย สรรเสริญเขา ในโอกาสอันควร หลีกเลี่ยงการขอร้องหยุมหยิม พบปะสังสรรค์กันตามสมควร
เทคนิคการบำรุงรักษาน้ำใจผู้ใต้บังคับบัญชา
1. รู้จักคุมอารมณ์ตัวเอง อย่าหลงตัวเองว่า ตัวเองเก่งกว่าคนอื่น อย่าโมโหฉุนเฉียว อย่าใช้อำนาจเกินความจำเป็น อย่าตัดสินใจเวลาโกรธ อย่าเลือกที่รักมักที่ชัง
2. เอาใจเขามาใส่ใจเรา ยกย่องเมื่อเขาปฏิบัติดี อย่าจู้จี้จุกจิก เอาใจใส่ในความยากลำบากในการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา มีความจริงใจ และเห็นอกเห็นใจ
3. รู้จักให้รางวัลล่อใจ
4. รู้จักศิลปะของการวิพากษ์ วิจารณ์ อย่าวิพากษ์วิจารณ์ใครต่อหน้าคนอื่น ควรทำในที่ลับตาตัวต่อตัว พูดเรื่องดีก่อน ของเสียตำหนิภายหลัง หลีกเลี่ยงการตำหนิอันเกิดจากเหตุสุดวิสัย ให้โอกาสเขาแสดงความคิดเห็น เคารพความคิดเห็นของเขา วิพากษ์วิจารณ์โดยอาการสุภาพ แนะนำภายหลัง
5. รู้จักศิลปะของการฟัง ฟังคนอื่นมาก อย่าพูดมาก อย่าขัดจังหวะหรือโต้แย้งก่อนจบเรื่องของเขาแสดงความเอาใจใส่ในการฟัง ฟังให้มากเป็นพิเศษ อย่ากระทำสิ่งใดที่กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของเขา
6. ชี้แจงความเคลื่อนไหวในวงงาน ชี้แจงนโยบาย แผนงาน ปัญหาต่าง ๆ ให้กระจ่างทันเหตุการณ์อย่าให้เขารู้สึกว่านายเท่านั้นควรรู้ ลูกน้องไม่มีความสำคัญอย่างใด อย่าปล่อยให้เก็บเรื่องราวจากข่าวลือ หาคำตอบที่ถูกต้องมาทำความเข้าใจเมื่อเขาข้องใจ ชี้แจงเหตุผลให้เขาทราบ ในเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามความเห็นเขาได้
7. รักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา เอาใจใส่ผลประโยชน์ของเขา ปูนบำเหน็จเลื่อนขั้นฐานะให้ผู้ที่สมควร สนับสนุนผู้มีความสามารถอย่ากดไว้
ควรปรับปรุงตัวเองเสียบ้าง
มรรยาทในสถานที่ทำงาน
มรรยาทอันเนื่องมาจากการเคารพกฎระเบียบและวัฒนธรรมองค์กร
1. การแต่งกาย
2. ระบบอาวุโส
3. ปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
4. การรักษาเวลาและรู้จักปริบทเกี่ยวกับเวลา
5. การให้เกียรติสถานที่และรู้จักปริบทเกี่ยวกับสถานที่
6. ธรรมเนียมปฎิบัติและวัฒนธรรมองค์กรโดยทั่วไปและเฉพาะแห่ง
มรรยาทการสื่อสารระหว่างบุคคลในการปฎิบัติหน้าที่
1. มรรยาทโดยทั่วไป เช่น การทักทาย การสร้างปฎิสันถาร การอำลา การไหว้ การสัมผัสมือ และการแสดงความเคารพ การพูดโทรศัพท์ การต้อนรับ การทำหน้าที่เจ้าภาพ การประชุม การจัดตำแหน่งที่นั่ง การปฎิบัติตนของผู้เป็นแขกที่ดี การแนะนำตนเอง การแนะนำผู้อื่นให้รู้จักกัน การใช้นามบัตร
2. มรรยาทการสื่อสารระหว่างบุคคลขณะเมื่อปฎิบัติหน้าที่ เช่น การใช้นามบัตร การประชุม การทำหน้าที่ประธานการประชุม การเข้าร่วมประชุมในฐานะกรรมการ การนำเสนอ การแสดงความเห็น การสื่อสารเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง
มรรยาทการสื่อสารภายในองค์กร
1. เส้นทางของการสื่อสาร (LINE OF OMMUNICATION)
2. โครงสร้างขององค์กร
มรรยาทเกี่ยวกับงานเลี้ยงทางธุรกิจ
การศึกษาบัตรเชิญและการตอบบัตรเชิญ การแต่งกายให้เหมาะสม การวางตนที่งดงามในงานสังคม การขอบคุณเจ้าภาพ ของขวัญ ของที่ระลึก ของกำนัล
มรรยาทของบุคลากรผู้ต้องพบลูกค้าโดยตรง (The Front Office Staff)
1. มรรยาทในอวัจนภาษา เช่น ภาษากาย ระยะห่าง เสียง น้ำเสียง หางเสียง วัตถุ สิ่งของที่นำมาใช้
2. มรรยาทในวัจนภาษา เช่น ถ้อยคำภาษา ระดับของคำ ถ้อยคำที่แสดงหางเสียงซึ่งน่าชื่นชม “ขอบพระคุณ ขอโทษ ขอความกรุณา กรุณา”
ประโยชน์ที่ได้จากการอบาม