LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

  • Home
  • Blog
  • การจัดการความรู้
  • การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
การวางแผนและการบริหารจัดการความรู้ (KM Plan)
August 10, 2011
แนวคิดการจัดกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
August 10, 2011
Published by thanyaluk on August 10, 2011
Categories
  • การจัดการความรู้
  • การจัดการความเสี่ยง
  • การพัฒนาองค์กร
Tags
  • การบริหาร
  • การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
  • การปฏิบัติงาน

เรื่อง             การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

วันที่อบรม     วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2554  (เวลา 13.30 – 16.30 น.) 

วิทยากร        คุณจริยา บุณยะประภัศร  ที่ปรึกษา บริษัท ซีอาร์เอ็มแอนด์คลาวด์

สรุปเนื้อหาการบรรยาย  

แนวคิดการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ หมายถึง แนวคิดที่มุ่งเน้นวิธีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิผล โดยมีการวางแผนและ การกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้สามารถดำเนินการและติดตาม ประเมินผลเป้าหมายที่กำหนดทั้งในระดับส่วนงานและบุคคล ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีส่วนร่วมและสอดคล้องกับภารกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กร

ประโยชน์ของการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

สนับสนุนให้หัวหน้างานและผู้ปฎิบัติงานตกลงและหารือเพื่อกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานเพื่อที่จะดำเนินงานที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน กำหนดเป้าหมายของการปฏิบัติงานเพื่อเชื่อมโยงผลตอบแทน ช่วยผลักดันผลผลิตและผลลัพธ์ตลอดจนการสร้างผลงานตามค่าเป้าหมาย ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรและผลงานของหน่วยงาน

เทคนิคในแต่ละขั้นตอนของการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

  1. ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
  2. ขั้นตอนการติดตาม (Monitor)
  3. ขั้นตอนการพัฒนา (Develop)
  4. ขั้นตอนการประเมิน (Appraise)
  5. ขั้นตอนการให้รางวัล/ แรงจูงใจ (Reward)

1.     เทคนิคในขั้นตอนการวางแผน (Plan)

  1. การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของเป้าหมายระดับองค์กรลงสู่หน่วยงาน (Goal Cascading Method)
  2. ความคาดหวังของผู้รับบริการ (Customer Focused Method
  3. การพิจารณาจาก ประเด็นสำคัญ (Issue-Driven)
  4. การไหลของงาน (Work Process Method)

** ปัจจัย (Competency -based)

              ตัวคัดกรอง

  • ตัวชี้วัด และ เป้าหมายของผู้ปฏิบัติ ณ ต้นรอบการประเมิน
  • ตัวชี้วัด และ เป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ณ ช่วงเวลาที่ประเมิน

** งานและการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอบการประเมินฯ

ตัวอย่าง Customer-focused Method

แนวทางนี้เหมาะกับหน่วยงานที่มีภารกิจหลักเกี่ยวข้องกับการให้บริการไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายในหรือลูกค้าภายนอก ซึ่งเน้นผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานจากการให้บริการ ที่จะนำมากำหนด KPI/Target

ตัวอย่าง Work Flow Method

แนวทางนี้เหมาะกับหน่วยงานที่เน้นการปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานงานเป็นหลัก ซึ่งผลลัพธ์ ที่จะนำมากำหนดKPI/Target จะเกิดขึ้นเอง หากปฏิบัติตามกระบวนงาน กระบวนงานหลัก ขั้นตอน ผลลัพธ์

ตัวอย่าง Issue-Driven Method

แนวทางนี้เหมาะสำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจปฏิบัติงานเป็นงานโครงการ หรืองานที่ได้รับมอบหมายในเชิงนโยบาย หรืองานเฉพาะกิจที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นเร่งด่วนขององค์กร โดยเน้นผลลัพธ์ ที่ต้องการจากการดำเนินการในประเด็นนั้น ๆ และนำมากำหนด เป็น KPI/ Target

ตัวอย่าง Competency-Based Method

–      คุณลักษณะสำคัญ (Underlying Characteristics) ความรู้ ทักษะ กรอบความคิด แรงจูงใจ

–      พฤติกรรมในการทำงาน (Behaviors)

–      ผลการปฏิบัติงาน (Performance)

สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะสำคัญต่าง ๆ ของบุคลากรที่ส่งผลให้บุคลากรมีพฤติกรรม และผลการปฎิบัติงานที่ส่วนงานและองค์กร ต้องการเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร

2.     เทคนิคการติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา

–       วิเคราะห์เพื่อแยกแยะผู้ใต้บังคับบัญชาออกเป็นประเภท

–       เลือกเครื่องมือในการบริหารผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่าง เหมาะสมตามสถานการณ์และตามประเภทผู้ใต้บังคับบัญชา

หลักการของ McGregor theory

  • การมองคนแบบ X        ลูกน้องไม่ค่อยชอบทำงาน
  • การมองคนแบบ Y        ลูกน้องชอบที่จะทำงานถ้าหากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เอื้ออำนวย
  • การมองคนแบบ X        ลูกน้องไม่ค่อยทะเยอทะยานทำงานไปเรื่อย ๆ
  • การมองคนแบบ Y        ลูกน้องมีความทะเยอทะยานอยากก้าวหน้าในสายอาชีพ
  • การมองคนแบบ X        ลูกน้องชอบที่จะถูกบงการงานถึงจะเดิน
  • การมองคนแบบ Y        ลูกน้องชอบที่จะถูกบงการงานถึงจะเดินลูกน้องตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของเขาเขาควบคุมตนเองได้เพื่อให้งานของเขาสำเร็จ
  • การมองคนแบบ X        ลูกน้องไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยเฉพาะลูกน้องในระดับล่าง
  • การมองคนแบบ Y        ลูกน้องไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยเฉพาะลูกน้องในระดับล่างลูกน้องมีความคิดริเริ่มในการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นถึงแม้จะเป็นลูกน้องในระดับล่าง
  • การมองคนแบบ X        ลูกน้องเต็มใจทำงานถ้ารู้สึกว่าได้ค่าจ้างและสวัสดิการดี
  • การมองคนแบบ Y        ลูกน้องจะเต็มใจทำงานอย่างเต็มที่นั้นไม่ใช่เพราะจะได้ค่าจ้างและสวัสดิการดีเท่านั้น ยังมีสิ่งอื่น ๆ อีกเช่น การได้รับการยอมรับและความรู้สึกภูมิใจ

พฤติกรรมควบคุม

  • สั่งการบอกให้ทำ (ทำอะไร ที่ไหนอย่างไร เมื่อไหร่ กับใคร)
  • ควบคุม สอนงาน สังเกต ติดตามให้คำปรึกษา

พฤติกรรมสนับสนุน

ถาม ฟัง ปรึกษาเขา ชมเชย ให้กำลังใจ สนับสนุน ให้เวลา อำนวยความสะดวก

3.     เทคนิคการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะความชำนาญ ความมุ่งมั่น แรงจูงใจ ความเชื่อมั่น

ตัวอย่างการกำหนดประเด็นในการสอนงานเพื่อพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

  1. ตรวจสอบงานต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของลูกน้อง เพื่อดูว่างานใดบ้างยังทำได้ไม่ดีเพราะ ขาดความรู้หรือทักษะ
  2. มีงานอะไรบ้างที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของลูกน้องในปัจจุบันแต่หัวหน้าอยากให้ลูกน้องสามารถทำได้
  3. มีงานอะไรบ้างที่มักจะเกิดปัญหาขึ้นบ่อย ๆ
  4. มีงานอะไรบ้างที่หัวหน้าไม่ต้องการให้ผิดพลาดเพราะจะมีผลกระทบมาก
  5. มีงานอะไรบ้างที่หัวหน้าต้องการให้ลูกน้องในส่วนงานส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติได้ถึงแม้ปัจจุบันจะไม่ใช่งานในรับผิดชอบของเขาก็ตาม เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร

4.     เทคนิคการประเมินผล (Appraise) หัวหน้างานควรจะ

  1. พูดคุยเพื่อสร้างความเป็นกันเอง
  2. สอบถามถึงผลการปฏิบัติงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกประสบความสำเร็จ
  3. สอบถามถึงผลการปฏิบัติงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายและปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานพร้อมทั้งประเด็นที่ต้องการการสนับสนุนจากหัวหน้างาน
  4. แจ้งผลการประเมินทุกด้านแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
  5. แจ้งและชมเชยถึงสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำได้ดี
  6. แจ้งถึงประเด็นที่ต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการปรับปรุง
  7. ร่วมกันวางแผนการพัฒนา
  8. ถามความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชาถึงการประเมินในครั้งนี้
  9. ร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชากำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลงานและสมรรถนะที่จะใช้ในช่วงการประเมินถัดไป

5.     เทคนิคการให้รางวัล / แรงจูงใจ

        Reward 

 –       Financial-Based Non   – Fixed     – Variable

 –       Non Financial-Based

 

ผลที่ได้จากการอบรม  

  1. ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการบริหารผลการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงและสนับสนุนเป้าหมายของส่วนงานและองค์กรตามแนวทางการบริหารเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
  2. ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจเทคนิคและขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารผลการปฎิบัติงาน
Post Views: 1,152
Share
0
thanyaluk
thanyaluk

Related posts

July 25, 2024

การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)


Read more
May 30, 2024

แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)


Read more
June 27, 2023

การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)