LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • Home
  • Blog
  • ความรู้เพื่อการทำงาน
  • เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงาน
การวางแผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความสำเร็จขององค์กร
September 13, 2011
การพัฒนาบุคลิกภาพ
September 13, 2011
Published by thanyaluk on September 13, 2011
Categories
  • ความรู้เพื่อการทำงาน
Tags
  • การทำงาน
  • การปฏิบัติงาน
  • การประเมินผลการปฏิบัติงาน

เรื่อง                    เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงาน

วันที่อบรม            วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2554 (เวลา 13.30 – 16.30 น.)  

วิทยากร               อาจารย์ปฐมภัค  รักวัฒนกุล  กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มพี เทรนนิ่ง แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด

สรุปเนื้อหาการบรรยาย  

ความสำคัญของการประเมินผลงานและการบริหารผลการปฏิบัติงาน กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน การกำหนดเป้าหมายแบบ SMART + Challenging บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของหัวหน้างานกับการประเมินผลงาน ทักษะการสื่อสารระหว่างกันเพื่อความสัมพันธ์ที่ดี ในการประเมินผลงาน   การตรวจติดตามความคืบหน้าของผลงาน เคล็ดลับการให้ผลตอบกลับ (Feedback) ฝึกปฏิบัติ (Workshop) และ ฝึกบทบาทสมมุติ (Role-play)

ความกลัวของผู้ถูกประเมิน คือ การถูกตำหนิ คะแนนได้น้อยกว่าที่คิด ความไม่ยุติธรรมในการประเมิน กลัวหัวหน้าไม่เห็นความสามารถและความสำคัญ Bias มาตรฐานของหัวหน้างานในแต่ละฝ่ายไม่เท่ากัน พฤติกรรม/นิสัยของหัวหน้างาน เป้าหมายยากเกินไป มาตรฐานในการวัดสูงเกินไป ใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาวัด ไม่ฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ไม่มีผลตอบกลับต่อการประเมินผล ผลการประเมินไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง การสื่อสารไม่ตรงกัน กลัวถูกตำหนิ ความขัดแย้ง กลัวทำได้ไม่ถึงเป้าหมาย มาตรฐานระหว่างแผนกและฝ่ายมีความแตกต่างกัน

ส่วนผู้ประเมิน กลัวลูกน้องไม่ยอมรับผลที่ถูกประเมิน กลัวความเข้าใจไม่ตรงกัน กลัวลูกน้องได้รับผลตอบแทนน้อยกลัวผลคะแนนออกมาใกล้เคียงกันเป็นกลุ่มไม่แตกต่างกัน กลัวลูกน้องไม่รัก ลูกน้องได้น้อยกว่าฝ่ายอื่น กลัวความแตกแยกในฝ่าย ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ความไว้วางใจลดลง ไม่สามารถให้เหตุผลในการประเมินได้ เกิดความเหลื่อมล้ำในกลุ่ม กลัวผู้ถูกประเมินไม่พอใจ การสื่อสารเข้าใจไม่ตรงกัน กลัวเกิดการโต้แย้งแบบไม่มีเหตุผล ไม่ยอมรับผลการประเมิน กลัวลูกน้องปฏิเสธผลการประเมิน ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกน้อง

การประเมินผลงานมีความสำคัญ ดังนี้

  1. เพื่อชื่นชมความสำเร็จของพนักงาน
  2. เพื่อแนะแนวทางสู่ความสำเร็จ
  3. เพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน
  4. เพื่อทบทวนผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาทำไมการประเมินผลงานจึงสำคัญ
  5. เพื่อกำหนดเป้าหมายงานในปีต่อไป
  6. เพื่อระบุปัญหา และแนวทางแก้ไข
  7. เพื่อพูดคุยหารือเกี่ยวกับโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพงาน

การประเมินผลการปฏิบัติงาน

เป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติในช่วงเวลาหนึ่งทั้งด้านคุณลักษณะและผลงานที่ได้ปฏิบัติ เทียบเคียงกับมาตรฐานที่วางไว้ เพื่อนำผลที่ประเมินมาใช้ประกอบในการให้รางวัลและผลประโยชน์ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรต่อไป

ปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  1. ไม่มีมาตรฐานในการประเมิน ใช้การเดา หรือความรู้สึกต่อพนักงาน
  2. การกำหนดมาตรฐานไม่สัมพันธ์กับผลงานทำให้ยากในการประเมิน
  3. ความผิดพลาดของผู้ประเมิน เช่นอคติ (Bias) ความคิดเชิงลบ ความไม่ชอบพนักงานเป็นการส่วนตัว
  4. มีความชอบหรือประทับใจพนักงานเป็นทุนเดิม ผลการประเมินจึงมีความเบี่ยงเบนไปในทางบวก (Halo effect)
  5. มักให้คะแนนในระดับกลาง (Central tendency) เพื่อความปลอดภัยและลดความไม่พอใจของพนักงาน
  6. ให้คะแนนระดับสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่เป็นจริงสำหรับหัวหน้าที่มีความใจดีหรือเข้มงวดมากเกินไปไม่
  7. มีการให้ Feedback แก่พนักงาน ทำให้พนักงานไม่รู้ว่าสิ่งใดที่ทำดีแล้ว หรือสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง
  8. การสื่อสารระหว่างผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินไม่ดีพอ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อกัน ทำให้การประเมินผลไม่น่าเชื่อถือ
  9. ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินไม่ได้นำผลการประเมินไปใช้ต่อ

วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

–        เพื่อพิจารณาในด้านความดีความชอบเป็นการปูนบำเหน็จรางวัล

–        เพื่อพิจารณาในด้านความเหมาะสมเรื่องเงินเดือน ค่าตอบแทน ค่าจ้าง

–        เพื่อเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง หรือให้ออกจากงานเพื่อพัฒนางานในหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น

–        เพื่อวางแผนอาชีพให้พนักงานเจริญก้าวหน้า

–        เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อและฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร

–        เพื่อเสริมสร้างและรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและพนักงาน

ทำไมต้องมีการประเมินผลงาน

–      การประเมินผลงานทำให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

–      จัดทำเป็นเอกสารบันทึกการปฏิบัติงาน

–      ให้ผลตอบกลับในเชิงสร้างสรรค์

–      ชื่นชมผลงานความสำเร็จ และให้รางวัลสำหรับผลงานดีเด่นปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่อง

–      พูดคุยสื่อสารเกี่ยวกับเป้าหมายงานของพนักงาน

–      พัฒนาและจูงใจพนักงาน

ความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • ต่อพนักงาน

–      พนักงานทราบว่าผลการปฏิบัติงานของตนเป็นอย่างไร

–      มีคุณค่าเพียงใดในสายตาของผู้บังคับบัญชา

–      มีจุดบกพร่องที่ควรจะต้องปรับปรุงหรือไม่

  • ต่อผู้บังคับบัญชา

–      รู้ว่าพนักงานมีคุณค่าต่องานหรือต่อองค์กรมากน้อยเท่าใด

–      สามารถหาวิธีส่งเสริม รักษา และปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของพนักงานพนักงานควรทำหน้าที่เดิมหรือสับเปลี่ยนโอนย้ายหน้าที่ไปทำงานอื่น

–      รู้ว่าพนักงานจะต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ด้านใด

  • ต่อองค์กร

–      รู้ได้ว่าพนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอยู่ในระดับใด

–      พนักงานมีจุดเด่น หรือจุดด้อยอะไรบ้างเพื่อหาทางปรับปรุง หรือจัดสรรพนักงานให้เหมาะสมกับความสามารถ

การประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • บทบาทของผู้บังคับบัญชา

1.      ทบทวนหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความรู้ความสามารถ ทักษะ เป้าหมายและดัชนีชี้วัดของพนักงาน

2.         รวบรวมการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ผ่านมา

3.         สรุปภาพรวมของผลการปฏิบัติงานของพนักงานลงในแบบฟอร์ม

4.         หารือกับผู้บังคับบัญชา

5.         เตรียมการสำหรับการทบทวนผลการปฏิบัติงานกับพนักงาน

  • บาทของพนักงาน

1.      บทวนผลการปฏิบัติงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

2.      รวบรวมปัญหา และอุปสรรคในการปฏิบัติงาน

3.      รวบรวมผลการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ

4.      เตรียมการสำหรับการทบทวนผลการปฏิบัติงานกับผู้บังคับบัญชา

ความรับผิดชอบของหัวหน้า

  1. อบรมวิธีการประเมินผลงาน
  2. กำหนดเป้าหมายของหน่วยงาน
  3. กำหนดเป้าหมายของพนักงาน วิธีการวัดผลและมาตรฐานของการปฏิบัติงาน
  4. ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
  5. ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างต่อเนื่อง
  6. ระบุผลงานที่ไม่ต้องปรับปรุง พร้อมให้ความช่วยเหลือ และการสนับสนุนเพื่อการแก้ไข
  7. วางแผนการพัฒนาอบรม และการพัฒนาสายอาชีพ
  8. ให้การยอมรับ ชมเชยกับผลงานดีเด่น

ความรับผิดชอบของพนักงาน

1.     มุ่งมั่นต่อเป้าหมายของตน

2.     ปฏิบัติหน้าที่ให้ประสบผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานงาน

3.     พูดคุย หารือเกี่ยวกับประเด็น ปัญหา ข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานกับหัวหน้า

4.     พัฒนาอบรมทักษะที่จำเป็น ควบคู่ไปกับการพัฒนาสายอาชีพ

 

กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่

  1. ระยะการกำหนดเป้าหมาย (Setting Goals/ Target) เป็นช่วงของการกำหนดผลงานหลักตัวชี้วัด เป้าหมาย และความสามารถของแต่ละบุคคลที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถทำงานนั้นได้สำเร็จ หัวหน้าจะต้องให้ลูกน้องมีส่วนในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนในการปฏิบัติงานด้วย

                    เป้าหมายงาน

–      Specific  =  เฉพาะเจาะจง 

–       Measurable  =  วัดได้ 

–      Achievable  =  ทำให้สำเร็จได้ 

–      Results-focused  =  เน้นผลสำเร็จ 

–      Time-bound  =  มีกรอบเวลา

2.     ระยะการติดตามผล (Tracking and Feedback) ติดตามดูเป็นช่วงๆ เพื่อตรวจสอบดูว่า       ผลการปฏิบัติงานที่วางไว้ดำเนินไปถูกต้องตามแผนหรือไม่ หรืออาจต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์เป็นการเปิดโอกาสให้หัวหน้าและลูกน้องได้ปรึกษาหารือกันเพื่อให้เป้าหมายสำเร็จ

การตรวจติดตามงาน (Tracking & Monitoring) หมายถึง การตรวจดูผลการปฏิบัติงานของพนักงานทั้งที่อยู่ในแผนงาน และที่เป็นประจำทั่วไป เพื่อจะได้ทราบว่าพนักงานปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่

ความสำคัญของการตรวจติดตามงาน (Tracking & Monitoring)

การติดตามอย่างมีประสิทธิภาพ

–      ทำให้ได้ข้อมูลทั้งผลงานที่ประสบความสำเร็จและที่ต้องปรับปรุงอย่างทันท่วงที

–      สำหรับผลงานที่ดี พนักงานก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่า อะไรจึงทำให้การทำงานของเขามีประสิทธิภาพและหาวิธีที่จะทำผลงานให้ดีขึ้นไปอีก

–      สำหรับผลงานที่ต่ำกว่าที่คาดหวัง พนักงานจะได้สามารถค้นหาสาเหตุและปรับปรุงตามความเหมาะสม หากยังมีเวลาที่จะปรับปรุงแก้ไข

–      การสนทนาถึงผลงานที่ต้องปรับปรุงอย่างตรงไปตรงมา จะช่วยให้พนักงานรับรู้สถานการณ์ความคืบหน้าของตนเอง ทำให้ไม่เกิดความประหลาดใจในตอนที่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี

เทคนิคการตรวจติดตามงาน

–      ใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

–      ใช้วิธีง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนและไม่เสียเวลาในการค้นหาข้อมูล

–      ควรกำหนดระยะในการตรวจติดตามให้เหมาะสมกับกิจกรรมงานแต่ละงานกำหนดจุดตรวจโดยดู จากจุดงานที่สำคัญ

–      ให้พนักงานมีส่วนในการตรวจติดตาม เช่นระยะเวลาในการตรวจ ข้อมูลที่ใช้ตรวจ เพื่อให้เกิดความเป็นเจ้าของในงานนั้นการให้ผลตอบกลับ (Feedback)คือ การให้ความคิดเห็นในผลการปฏิบัติงาน            ของพนักงาน โดยคำนึงถึงความรู้สึก และ การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

–      เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานเป็นไปด้วยดีตามแผนที่ตั้งไว้

–      เป็นการให้คำแนะนำ แนวทาง และการสนับสนุนช่วยเหลือเมื่อพบว่าการทำงานต่ำกว่าที่       คาดไว้

–      เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานเป็นไปด้วยดีตามแผนที่ตั้งไว้

–      เป็นการให้คำแนะนำ แนวทาง และการสนับสนุนช่วยเหลือเมื่อพบว่าการทำงานต่ำกว่าที่คาดไว้

A = Action การปฏิบัติอะไรที่ได้พูดหรือทำ ในสถานการณ์หรืองานนั้น ๆ

R = Result  ผลลัพธ์ มีอะไรเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือเลวลง จากการปฏิบัติของบุคคลหรือทีมนั้น ๆ มีผลกระทบอะไรบ้างจากผลลัพธ์ของการปฏิบัตินั้น ๆ

เทคนิคการให้ผลตอบกลับอย่างมีประสิทธิภาพ

–      ผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชาควรทำให้การให้ผลตอบกลับเป็นเรื่องปกติที่สามารถให้ได้ตลอดเวลา

–      อาจทำได้อย่างเป็นทางการ (ลายลักษณ์อักษร)หรือไม่เป็นทางการ (วาจา) ตามแต่โอกาสเอื้ออำนวย  ทันทีที่พบว่าผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้ดีเป็นไปตามแผนงาน หรือทำงานผิดพลาด ช้ากว่ากำหนดเวลา ควรให้ผลตอบกลับโดยเร็วที่สุด

–      หากเป็นไปได้การให้ผลตอบกลับควรมีทั้งด้านบวก และด้านที่ควรต้องปรับปรุง

–      ควรเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง เพื่อให้พนักงานทราบได้ชัดเจนว่าผลตอบกลับนั้นสำหรับเรื่องใด

–      ควรให้ผลตอบกลับเป็นส่วนหนึ่งของงาน ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ

หลักการให้ Feedback 

–      ตรงเวลา (เกิดเมื่อไหร่ให้เมื่อนั้น)

–      สมดุลย์

–      พูดเพื่อรักษาศักดิ์ศรี และให้เกียรติผู้อื่น

–      รับฟังความคิดเห็น พร้อมตอบคำถามด้วยความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น

–      กระตุ้นให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

–      แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้สึก และเหตุผลร่วมกับผู้อื่น

–      ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ

ประเภทของผลตอบกลับ

–      เชิงบวก (Positive) ระบุสิ่งที่พนักงานหรือทีมทำได้ดี ก็ต้องชม ชมด้วยความจริงใจ

–      เชิงปรับปรุง (Improving) แนะวิธีที่จะปรับปรุงงานให้มีประสิทธิผลมากขึ้นแก่บุคคลหรือทีม

       เคล็ดลับการให้Feedback

–      พบเห็นพฤติกรรมของลูกน้องเมื่อไหร่ ให้เมื่อนั้น

–      ให้อย่างสมดุลย์

–      ให้ Feedback เป็นสิ่งที่ “ทำงานให้ดีขึ้น”

–      ให้ Feedback เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน

–      ให้การได้รับ Feedback เป็นส่วนหนึ่งของลูกน้อง

–      ให้ Feedback เป็นสิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องหัวใจสำคัญของ Feedback

การให้ผลตอบกลับ จะต้องเป็นไปในลักษณะที่ทำให้ผู้รับผลตอบกลับยอมรับ และสามารถนำผลตอบกลับนั้นไปปฏิบัติด้วยความเต็มใจ

3.     ระยะการประเมินผล (Evaluation) เป็นช่วงของการประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบระยะเวลาที่กำหนดว่าผลงานของแต่ละคนอยู่ในระดับใด และเป็นการให้คะแนนแก่พนักงาน โดยส่วนใหญ่มักจะกำหนดการประเมินผลปีละ 1–2 ครั้งสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการประเมินผลงานแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการประเมินผลมาจาก 2 แหล่งสำคัญ

–      ข้อมูลจากการปฏิบัติงาน ใช้วัดและตรวจติดตามดูความคืบหน้าของเป้าหมายงาน

–      ผลตอบกลับ ใช้ตรวจติดตามพฤติกรรมของพนักงา

กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินผล

  • เกี่ยวข้องกับพนักงาน

–       ตกลงเวลา และสถานที่ในการประเมินผลล่วงหน้า ต้องแจ้งล่วหน้า 1 อาทิตย์ หรือ 2 อาทิตย์

–       ให้พนักงานเตรียมพร้อมในการประเมินผลพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ

–       ให้พนักงานประเมินผลงานของตนเอง (ว่าคะแนนเต็ม 100 จะได้เท่าไหร่)

  • การรวบรวมข้อมูล

–       พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานของพนักงาน

–       ทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานที่ระบุไว้ใน Job Description

–       ข้อมูลผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา(Past Performance)

–       ข้อมูลการฝึกอบรม

ขั้นตอนที่ 2 ประเมินผลงาน

–      สร้างความเป็นกันเองกับพนักงาน (อย่ากดดัน เพราะลูกน้องจะกลัวเวลาประเมิน)

–       บอกจุดมุ่งหมาย และประโยชน์ของการประเมินผลงาน

–      เริ่มต้นการประเมินจากจุดเด่นของพนักงาน

–      ฟังความคิดเห็นของพนักงาน

–      เปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานงาน

–      ให้คะแนน

–      ตกลงร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายในปีหน้า

–      จบการพูดคุย

–      หลีกเลี่ยง Evaluator Error

Evaluator Error คือ การให้คะแนนบิดเบือนไปจากมาตรฐาน ใช้ผลงานที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้         มาตัดสินคะแนน อคติการกำหนดรูปแบบการให้คะแนนกับทุกคนความชอบ/ความไม่ชอบส่วนตัวการให้คะแนนที่ขัดแย้งกันในคนๆ เดียวกัน

ขั้นตอนที่  3 การติดตามผล

–      ประเมินผลพนักงานความคืบหน้าในหน้างานของพนักงาน

–      ให้ผลตอบกลับ (Positive Feedback) เป็นประจำสม่ำเสมอ

–      สอนแนะพนักงาน (Coaching)

การแจ้งผลการประเมิน

เป็นการบอกให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานรับทราบเกี่ยวกับผลงานของตน ว่ามีส่วนใดที่ทำได้เป็นไปตามที่หน่วยงาน หรือองค์กรคาดหวังและส่วนใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ผลงานบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้

หัวใจสำคัญของระบบการประเมินผลงาน

–      ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

–      เป้าหมายงานที่ชัดเจน ถ้าเป้าหมายไม่ชัดก็จะไม่สามารถวัดได้

–      ความเป็นมาตรฐานของระบบและวิธีการประเมิน

–      การอบรมทำความเข้าใจหัวใจสำคัญของระบบการประเมินผลงาน

–      การบันทึกข้อมูลผลงานของพนักงาน

–      การให้ผลตอบกลับ และการมีส่วนร่วมในการประเมิน

–      การทบทวนผลการประเมิน

 

ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม

  1. สำหรับหัวหน้างานสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกน้อง  
  2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติเพื่อเตรียมพร้อมรอรับการประเมิน
Post Views: 3,555
Share
11
thanyaluk
thanyaluk

Related posts

September 21, 2018

โครงการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หลักสูตร “การวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการทำงาน (Work process design & analysis)


Read more
November 6, 2017

โครงการอบรมการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ ยุค 4.0


Read more
July 24, 2017

ความมั่นคงและความสุขในการทำงานของบุคลากร มทร. ธัญบุรี


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)