LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

เขียนเรียงความอย่างไร ให้ดูดี!

  • Home
  • Blog
  • การจัดการความรู้
  • เขียนเรียงความอย่างไร ให้ดูดี!
Ceo City เกมส์คนไทย เพื่อคนไทย
October 29, 2009
การคิดเชิงวิจารญาณ
November 10, 2009
Published by 1149105060515 on November 10, 2009
Categories
  • การจัดการความรู้
Tags

เมื่อคุณได้รับหัวข้อในการเขียนเรียงความ สิ่งที่ควรทำคือ การรวบรวมเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการเขียน รวมไปถึงหนังสือที่จะใช้เป็นส่วนอ้างอิง และจะเป้นการดียิ่งหากคุณใช้เวลาเพียง วันหรือสองวันในการทำความเข้าใจกับหัวข้อเรียงความ และร่างเนื้อหาคราวๆสำหรับการเขียน
จงคำนึงไว้เสมอว่า การเขียนเรียงความโดยทั่วไปนั้น จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนของคำนำ ตัวเนื้อความ และบทสรุป
การเขียนเรียงความที่มีตัวอักษร 2000-2500 โดยประมาณและใช้เวลาเขียนประมาณ 2 สัปดาห์
 โดยสัปดาห์แรก จะต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูล อ่าน คิด และวิเคราะห์เกี่ยวกับคำถามหรือหัวข้ เรียงความที่ได้รับ และร่างโครงร่างสำหรับเนื้อหาที่จะเขียน
 สัปดาห์ที่ 2 เริ่มต้นการเขียนโดยการเขียนใส่กระดาษทดลองเขียนก่อน เมื่อเกิดความมั่นในใจ และได้เนื้อหาที่ครบถ้วน จึงเริ่มลอกข้อความใส่ในการดาษจริง
เมื่อตัดสินใจเขียนแล้วนั้น ควรอ้างถึงแหล่งที่มาทั้งจากหนังสือ และแหล่งที่มาอื่นๆอาทิเช่น หนังสือพิมพ์ หรือ บทความอื่นๆ เพื่อช่วยให้ข้อมูลทันสมัยมากขึ้น

การเริ่มต้นการเขียน

เป็นการดีที่จะเราจะเริ่มด้วยระดมสมอง หรือที่เรียกว่า Brainstorm กับเพื่อนในกลุ่ม การระดมสมองคือ กระบวนการการนำความคิดของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงกัน ซึ่งการระดมสมองนี้สามารถเป็นได้ทั้งความคิดที่คัดค้านหรือเห็นด้วย อาจจะไม่มีทางเป็นไปได้ หรือยากที่จะอธิบายก็ได้ การแสดงความคิดเห็นนั้นควรปล่อยให้เป็นความคิดอิสระ และความคิดใดจะเป็นประโยชน์นั้นจะต้องได้รับการพิจารณาร่วมกันอีกครั้งต่อไป

นักเรียน นักศึกษาหลายๆคนมองว่าสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับ “การเริ่มต้นการเขียน” คือการจับปากกาแล้วเขียนลงในกระดาษเปล่า แต่สิ่งที่น่ายินดีก็คือ ยิ่งฝึกเขียนเท่าไหร่ การเขียนยิ่งดียิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ต้องกลัวการเขียน หากค้นพบว่าการเขียนในกระดาษเปล่าๆเป็นสิ่งที่ยากสำหรับตัวเอง จงจำไว้อย่างเดียวว่า เขียนอะรก็ได้ แต่จงเขียนลงไป เพราะการฝึกเขียนนั้นจะช่วยให้การเขียนพัฒนายิ่งขึ้นต่อไป

คำนำ
การเขียนคำนำอาจเป็นสิ่งที่นักเรียน นักศึกษาหลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่ยาก หากพบว่าการเขียนคำนำนั้นเป็นสิ่งที่ยาก ทำไมเราไม่ลองปล่อยไว้ก่อน จนกระทั่งเราสามารถเขียนเนื้อความได้เสร็จสิ้น บางทีอาจจะทำให้สามารถเขียนคำนำได้ง่ายขึ้นก็ได้

จะเป็นการดีมากถ้าการเขียนคำนำนั้น มีความชัดเจน ตรงประเด็น และสามารถแสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้เขียนที่แสดงออกไปกับคำตอบของหัวข้อ หรือคำถามที่ได้รับ วิธีการที่ง่ายที่สุดในการเริ่มเขียนเรียงความคือ การกล่าวซ้ำคำถามที่ได้รับ

ตัวอย่างเช่น
จงอภิปรายข้อดีข้อเสียที่สัมพันธ์ของโครงสร้างระบบต่างๆที่ใช้ในระดับท้องถิ่นในปัจจุบัน

การเขียนการสรุปก็อาจจะเป็นการย้อนตอบคำถามโดยกล่าวซ้ำว่า การเขียนเรียงความเรื่องนี้จะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียที่สัมพันธ์ของโครงสร้างระบบต่างๆที่ใช้ในระดับท้องถิ่นในปัจจุบัน

เนื้อความ
ในส่วนการเขียนเนื้อหานั้นควรอยู่ในรูปแบบของย่อหน้า โดยเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าควรมีเนื้อที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นตรรกบทความ มีความสอดคล้องกับหัวเรื่องหรือโครงเรื่อง สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบได้

อีกประการที่สำคัญคือ เนื้อหาในแต่ละย่อหน้านั้นควรสอดคล้องกับเนื้อที่อยู่ในย่อหน้าก่อนโดยอาจใช้คำ หรือวลีอาทิเช่น
แต่บางทียังมีหลายปัจจัย……….. สิ่งนี้แสดงให้เห็นความจริงที่ว่า………. ในเวลาเดียวกัน…………… ความคิดเห็นที่ได้แสดงมานั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหา……….. มันอาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างว่า……. แต่อย่างไรก็ตาม……….. แต่อย่างไรก็ตาม……………………

บทสรุป
ส่วนสรุปนั้น เป็นส่วนที่ใช้ปิดท้ายในการเขียนเรียงความ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะได้สรุปเนื้อหาเข้ารวมกันโดยการพิสูจน์หรือวิเคราะห์ที่อยู่บนหลักเหตุและผลตามเนื้อหา อย่านำเสนอหัวข้อ หรือประเด็นใหม่หรือแหล่งข้อมูลใหม่ขึ้นมา ส่วนของสรุปนี้อาจจะเขียนได้ภาษาที่เราเข้าใจด้วยตนเอง แต่เนื้อหาควรเกี่ยวข้องกับส่วนของเนื้อที่ได้เขียนไป

การตรวจสอบการเขียน
คุณควรมีเวลาเหลือระหว่างเขียนและทบทวนบทความเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอสักวันหรือสองวันเพื่อให้เกิดความสดชื่น สิ่งที่ตรวจสอบในการเขียนเนื้อหาที่ได้เขียนไปมีโครงสร้าง การเรียงลำดับเนื้อหาเหมาะสมหรือไม่ มีความราบรื่นมากน้อยเพียงใด ควรอ่านบทความตั้งแต่จนจนจบอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบไวยากรณ์ การสะกดคำ และรายชื่อหนังสือที่ใช้อ้างอิงด้วย

Post Views: 784
Share
4
1149105060515
1149105060515

Related posts

July 25, 2024

การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)


Read more
May 30, 2024

แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)


Read more
May 7, 2021

แนวทางการ Work from Home และ Learn from Home


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)