LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

การคิดเชิงวิจารญาณ

  • Home
  • Blog
  • การจัดการความรู้
  • การคิดเชิงวิจารญาณ
เขียนเรียงความอย่างไร ให้ดูดี!
November 10, 2009
การทำงานเป็นกลุ่ม
November 10, 2009
Published by 1149105060515 on November 10, 2009
Categories
  • การจัดการความรู้
  • การพัฒนาตนเอง
Tags

ในฐานะที่เป็นนักเรียนนักศึกษา ทักษะทางด้านการเป็นคิดจึงเป็นทักษะที่สำคัญ โดยเฉพาะทักษะการคิดเชิงวิจารญาณ ซึ่งในบางครั้งคุณอาจได้รับหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลซึ่งต้องนำเสนอเชิงเปรียบเทียบและปรึกษากับผู้อื่นในที่ประชุม การคิดเชิงวิจารญาณเกี่ยวข้องกับการโต้แย้ง ซึ่งการโต้แย้งเป็นการกระทำที่พยายามทำผลงานของตนเองให้ดีกว่าของคนอื่นด้วยการเปรียบเทียบ โดยการคิดเชิงวิจารญาณนั้นจะช่วยให้เราวิเคราะห์ข้อโต้แย้งของคนอื่นมาปรับปรุงกับผลงานหรือชิ้นงานของเราได้ ซึ่งม่ว่าจะเป็นผลงานทางด้านการเขียนเรียงความ การทำรายงาน หรือการอภิปลายกลุ่มก็ตาม สิ่งที่ต้องพึงควรกระทำในการพัฒนาทักษะความคิดเชิงวิจารญาณคือการศึกษาหาความรู้ อ่านหนังสืออยู่เสมอเพื่อที่จะสามารถหยิบยก หรือเสนอหัวข้อเพื่อเข้าร่วมกลุ่มอภิปรายกับผู้อื่นได้

การระบุบ่งชี้ข้อโต้แย้งต่างๆ
ความหมายในโลกปัจจุบันนี้ การคิดเชิงวิจารญาณนั้นไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การคิดในข้อโต้แย้งเท่านั้น แต่หมายถึงการที่โต้แย้งและสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้คล้อยตามได้

ตัวอย่างข้อความ
การซื้อบ้านนั้นมีองค์ประกอบหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาที่จำเป็นต้องมีอย่างมากเพื่อใช้ในการเลือกหรือมองหาบ้านที่มีพื้นที่เหมาะสมตามความต้องการ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย ที่เราจะต้องเสียไปมากพอสมควรในการเดินทางหาซื้อบ้าน ที่มากไปกว่านั้นจ้เป็นต้องมีความอดทนมนและทักษะการตัดสินใจอย่างมาก แต่คนส่วนใหญ่มักมีเวลาน้อย ไม่มีเงินมากมายและมีความอดทนหรือการตัดสินใจน้อย ดังนั้น จึงไม่คุ้มค่านักหากจะซื้อบ้าน

 ข้อโต้แย้งมีหลายเหตุผล (การซื้อบ้านต้องใช้เงิน เวลา มีความอดทนและทักษะในการตัดสินใจเป็นอย่างมาก)
 ข้อโต้แย้งเป็นส่วนที่สำคัญเพื่อให้ผุ้ฟัง หรือผู้อ่านคล้อยตาม (ดูจากความพยายามยกเหตุผลหลายตัวอย่าง)
 ข้อโต้แย้งมีบทสรุปไว้อยุ่แล้ว (ไม่คุ้มค่าที่จะซื้อบ้าน)

การสรุปในแบบวิธีของการคิดเชิงวิจารญาณนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตอนต้น ตอนกลางหรือตอนทายของข้อโต้แย้ง แต่จุดประสงค์หลักคือการพยายามโน้มน้าวจิตใจของผู้อ่านหรือผู้ฟังให้คล้อยตามซึ่งแตกต่างจากการเขียนเรียงความ หรือรายงาน

การหาข้อโต้แย้ง
การหาข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นในข้อความนั้น เราสามารถหาได้จากการประเมินหรือวิเคราะห์จากคำ หรือข้อความอาทิเช่น ดังนั้น จำเป็นต้อง ควรจะ หลังจากนั้น และ ผลที่ตามมา หรือตามลำดับซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเรียกได้ว่าเป็นข้อความสำคัญของการสรุปของข้อโต้แย้ง

ตัวอย่างเช่น
โจทย์ ข้อสรุปของตัวอย่างนี้คืออะไร

เด็กจะทำงานที่ได้รับจากโรงเรียนมอบหมายให้สำเร็จได้นั้น หากที่บ้านมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งาน ซึ่งการลดราคาลงมาจาก 2-3 ปีก่อนทำให้ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นราคาที่ใครๆก็สามารถหาซื้อได้มากขึ้น ดังนั้นพ่อแม่จึงควรซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ที่บ้าน

ในบทสรุปนี้ จะเห็นคำว่า ดังนั้น พ่อแม่ จึงเป็นคำที่สนับสนุนเหตุผลจ้อความที่กล่าวก่อนหน้านั้น

อะไรคือข้อแตกต่างระหว่า การโต้แย้ง การอธิบาย และการสรุป
จำไว้ว่า การโต้แย้งเป็นการสรุปแบบมีเหตุผล สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้

ดูข้อความต่อไปนี้
เรือจอดเทียบท่าเวลา 7.30 น. และผุ้โดยสารลงจากเรือในเวลา 30 นาทีต่อมา ดังนั้นเจ้าหน้าที่ผุ้โดยสารขาเข้าจะเริ่มทำงานในเวลา 7.55

ข้อความนี้เป็นข้อความโต้แย้งที่เป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ เราอาจจะเห็นได้ว่ามีสองเหตุผลสนับสนุนข้อสรุปดังกล่าวนี้จริง แต่ข้อความนี้เป็นเชิงโน้มน้าวหรือเปล่า สำหรับคำตอบคือไม่ใช่ ข้อความข้างต้นนั้นเป็นเพียงแค่ข้อความที่อธิบายให้เห็นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเท่านั้นเอง ดังนั้น การอธิบายและการแสดงข้อโต้แย้งเชิงเหตุผลนั้นสามารถจำแนกให้เห้นความแตกต่างโดยสังเกตุจากจุดประสงค์ของข้อความจากทั้งสองประเภท

การสรุปในรูปแบบอื่นๆที่ไม่การโน้มน้าวใจนั้นเป็นเพียงแค่การสรุป เท่านั้นเอง

ตัวอย่าง
การซื้อบ้านนั้นมีองค์ประกอบหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาที่จำเป็นต้องมีอย่างมากเพื่อใช้ในการเลือกหรือมองหาบ้านที่มีพื้นที่เหมาะสมตามความต้องการ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย ที่เราจะต้องเสียไปมากพอสมควรในการเดินทางหาซื้อบ้าน ที่มากไปกว่านั้นจ้เป็นต้องมีความอดทนมนและทักษะการตัดสินใจอย่างมาก แต่คนส่วนใหญ่มักมีเวลาน้อย ไม่มีเงินมากมายและมีความอดทนหรือการตัดสินใจน้อย ดังนั้นผู้ที่ประสงค์จะซื้อบ้านนั้นจำเป็น ต้องมีเวลา ความอดทน และการตัดสินใจ

จะเห็นได้ว่าข้อประโยคสุดท้ายจะกล่าวกับเนื้อหาที่ได้กล่าวก่อนหน้านี้ ดังนั้น การสรุปนี้จึงไม่ได้มีความหมายไปมากล่าวเนื้อหาซ้ำเท่านั้นเอง

จับคู่ เหตุผล และ การสรุป
แบบฝึกหัด
สรุป – โทรศัพท์ไม่ควรได้รับอนุญาตินำเอามาในโรงงาน

เหตุผล –
1. ลูกจ้างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์อยู่แล้ว
2. การใช้โทรศัพท์อาจรบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ของโรงงาน
3. การใช้งานของบริษัทส่วนใหญ่ใช้เครื่องแฟ็กซ์ หรือโทรสารมากกว่าการใช้โทรศัพท์

จากตัวเลือกใน 1, 2 และ 3 นั้นเป็นเหตุผลสำหรับประโยคสรุปในโจทย์
คำตอบคือ ข้อ 2. โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถรบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคำตอบในข้อนี้จึงเป็นเหตุผลที่ดีที่สุดสำหรับการห้ามไม่ให้นำเอาโทรศัพท์เข้ามาในโรงงาน หากต้องจับคู่เหตุผลและการสรุป จำเป็นเป็นอย่างมากที่ต้องมองหาข้อความที่มีสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ คำตอบข้อ 2. นี้ไม่ได้หมายความโดยตรงต่อการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว แต่ยังระบุปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้โทรศัพท์ประเภทอื่นๆอีกด้วย

การคิดเชิงวิจารญาณไม่ได้จบด้วยตัวมันเอง บางครั้งก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะศึกษาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของมันด้วย การพัฒนาทักษะด้านการคิดเชิงวิเคราะห์สามารถก่อให้เกิดการปรับปรุงและเป็นประยชน์ต่อด้านการศึกษาด้วย

Post Views: 517
Share
0
1149105060515
1149105060515

Related posts

July 25, 2024

การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)


Read more
May 30, 2024

แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)


Read more
May 7, 2021

แนวทางการ Work from Home และ Learn from Home


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)