LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

การพัฒนาทัศนคติเชิงบวก

  • Home
  • Blog
  • การพัฒนาตนเอง
  • การพัฒนาทัศนคติเชิงบวก
เทคนิคการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
January 5, 2010
การสื่อสารข้ามสายงาน
January 6, 2010
Published by thanyaluk on January 5, 2010
Categories
  • การพัฒนาตนเอง
  • การพัฒนาองค์กร
Tags
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • การพัฒนาทัศนคติเชิงบวก
  • ทัศนคติ

โครงการอบรมทางไกลผ่านระบบดาวเทียม

เรื่อง  การพัฒนาทัศนคติเชิงบวก

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2552  (เวลา 09.00 – 12.00 น.)  

สถานที่        ห้องมินิเธียเตอร์ ชั้น 1 อาคารวิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยากร       รศ.  จินตนา  บุญบงการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สรุปเนื้อหาการบรรยาย  

                  จากพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสุขในการดำเนินชีวิต สุขภาพจิตและสุขภาพกายนี้มีความสัมพันธ์ที่จะโยงกันอย่างยิ่ง  ศิลปหัตถกรรมและการกีฬาตลอดจนวิชาช่างต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่คนทุกคนจะต้องสนใจศึกษา เพื่อประโยชน์เพื่อความผาสุกในชีวิต  ความสบายใจของคนเป็นสิ่งที่หายาก คนเราต้องมีความสบายใจจึงจะมีชีวิตที่ราบรื่นได้  การฝึกหัดทางใจนี้สำคัญอย่างยิ่งยวด จำเป็นที่จะต้องระมัดวะวังฝึกฝนอยู่ตลอดชีวิต ท่านจึงสอนให้สังวรระวังใจของตนให้ดีอย่ให้ความชั่วเกิดขึ้น และหากเกิดขึ้นแล้วก็ให้จำกัดเสียทันที  ความเจริญทางจิตใจนั้น เราจะซื้อด้วยเงินเป็นจำนวนเท่าใดๆ ไม่ได้ ความเจริญทางจิตใจนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งนัก เพราะเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่จะต้องทำตัวของตนเองให้ดี เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม  คนเราทุกคนอก็อายุมากขึ้นทุกวัน หนึ่งวัน สองวัน ก็อายุมากขึ้นหนึ่งสองวัน จะต้องฉุดจิตใจให้แข็งแรง ให้มีความวุ่นวาย สามารถที่จะเลือกทำอะไรต่ออะไรด้วยความระมัดระวัง คือ ด้วยสติสัมปชัญญะที่ดี  การที่คนมีจิตใจกุศล จิตใจที่จะแสวงหาความดี ทำบุญทำทานนั้น เป็นขั้นที่สำคัญามากในการหาความสุข คนก็มีปัญหาของคน สังคมก็มีปัญหาของสังคม ประเทศก็มีปัญหาของประเทศ แม้กระทั่งโลกก็มีปัญหาของโลก ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตและกิจการงานจึงเป็นเรื่องทำธรรมดา  ความเพียรนั้นคือ ไม่ท้อถอยในการฝึกตนเอง ไม่ท้อถอยในการแผ่ความรู้ ไม่ท้อถอยในการช่วยเหลือผู้อื่น ความจริงใจต่อผู้อื่นเป็นคุณธรรมที่สำคัญมาก สำหรับผู้ที่ต้องการความสำเร็จและความเจริญ  คนเราอยู่คนเดียวไม่ได้ คนเราต้องสามารถที่จะติดต่อกับคนอื่นร่วมแรงกัน เพื่อที่จะให้แต่ละคนมีความมั่นคง ก็ต้องมีความมั่นคงของส่วนรวม สังคมใดก็ตามถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นก็ย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพมีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่  ประเทศไทยเราจะอยู่อย่างทุกคนอยู่ มีบ้านหรูหรากันทุกคน และร่ำรวยกันทุกคน แต่ว่าทุกคนก็พอมีพอกิน ขอให้ทุกคนมีพลานามัยที่แข็งแรง มีจิตใจเข้มแข็ง และมีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งในหน้าที่การงานที่ดีและในส่วนตัว เพื่อจะได้มีความเจริญก้าวหน้า มีความสุขใจ สุขกาย ตลอดไปชั่วกาลนาน

ห้าขั้นตอนการมีทัศนคติ ที่ดี มีค่า มีความสุข

ขั้นที่   1  คิดถึงตัวเองว่าดีและมีค่าทุกวัน คือ ตื่นมาทุกเช้าบอกกับตัวเองว่า ตัวเองโชคดีที่มีโอกาสได้ตื่นมา ทำประโยชน์ให้ตัวเองและคนรอบข้าง นึกถึงความดีของตัวเองที่เคยทำมา อย่าตำหนิตัวเอง ชื่นชมในความดีและความสามารถ อย่ารอให้คนอื่นชื่นชมคุณ

ขั้นที่ 2  คิดถึงคนอื่นและมองโลกในแง่ดี  ไม่มีใครเกิดมาดี เก่ง และสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง พยายามมองเฉพาะส่วนที่ดีของคนรอบข้าง 

ขั้นที่ 3 ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อยู่กลับปัจจุบัน ทำในสิ่งที่ทำในวันนี้ให้ดีที่สุด ทำอย่างตั้งใจและเต็มความสามารถ เลิกคิดถึงสิ่งที่ไม่ดีที่เคยเกิดขึ้นกับคุณ

ขั้นที่ 4   สร้างความหวังและเชื่อว่าอนาคตจะดีเสมอ บอกกับตัวเองว่าอนาคตจะดีขึ้นเรื่อยๆ มีอารมณ์ขัน และอย่าจริงจังกับชีวิตจนเกินไป

ขั้นที่ 5 ปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ ปรับปรุงเรื่องการทำงาน ปรับปรุงเรื่องครอบครัว ปรับปรุงเรื่องสังคม สร้างมิตร ปรับปรุงและพัฒนาตนเอง

 การสร้างทัศนคติในเชิงบวกต้องอาศัยรูปแบบพฤติกรรมสี่ประการ

  1. คุณค่า (Value) เลือกพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า
  2. ความโน้มเอียง (Inclination) แนวโน้มในการเลือกใช้พฤติกรรมใด พฤติกรรมหนึ่งที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า
  3. ความสามารถในการตอบสนองทางอารมณ์ (Sensitivity) มองเห็นโอกาสในการเลือกใช้พฤติกรรมอย่างเหมาะสม
  4. ความสามารถ / ศักยภาพ (Capability)  มีความสามารถทักษะ และศักยภาพในการนำพฤติกรรมมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย

 ผลที่ได้รับ 

  1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาพัฒนาการพูดของตนเอง
  2. สามารถนำไปใช้ในการพูดเพื่อติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้
  3. ทำให้รู้ว่าสิ่งไหนควรพูด สิ่งไหนไม่ควรพูด  
  4. นำไปใช้ปรับปรุงการพูดในการให้บริการกับผู้รับบริการได้

 

Post Views: 662
Share
0
thanyaluk
thanyaluk

Related posts

August 10, 2020

คู่มือเทคนิคการให้บริการที่เป็นเลิศ


Read more
September 20, 2019

ศึกษาดูงาน โรงไฟฟ้ากระบี่ จังหวัดกระบี่ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง จ.กระบี่


Read more
September 20, 2019

การเขียนผลงานเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)