LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

การสื่อสารข้ามสายงาน

  • Home
  • Blog
  • การพัฒนาตนเอง
  • การสื่อสารข้ามสายงาน
การพัฒนาทัศนคติเชิงบวก
January 5, 2010
คุณธรรม และจริยธรรมที่จำเป็นสำหรับคนทำงาน
January 6, 2010
Published by thanyaluk on January 6, 2010
Categories
  • การพัฒนาตนเอง
  • การพัฒนาองค์กร
Tags
  • การประสานงาน
  • การสื่อสาร
  • การสื่อสารในองค์กร

โครงการอบรมทางไกลผ่านระบบดาวเทียม

เรื่อง  การสื่อสารข้ามสายงาน

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2552  (เวลา 13.-30 – 16.30 น.)  

สถานที่        ห้องมินิเธียเตอร์ ชั้น 1 อาคารวิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยากร       อาจารย์อำนาจ  วัดจินดา  ที่ปรึกษาและวิทยากรด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

                21  คน

สรุปเนื้อหาการบรรยาย  

                 การสื่อสารคือ การส่งสาร เช่น ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ข้อมูล จากผู้ส่งสารไปสู่ผู้รับสารโดยใช้ภาษาพูด และ/หรือภาษาท่าทางหรือวิธีอื่น ๆ

                 มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)  คือ การรวมคนให้ทำงานร่วมกันในลักษณะที่มุ่งให้เกิดความร่วมมือ ประสานงานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อให้บังเกิดผลตามเป้าหมาย มนุษย์สัมพันธ์เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยพฤติกรรมของคนที่มาเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับองค์การ หรือหน่วยงานเพื่อให้การทำงานร่วมกันดำเนินไปด้วยความราบรื่น บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

  1. ให้ความใจเพื่อนร่วมงาน คือ บุคคลส่วนใหญ่ชอบให้ผู้อื่นสนใจ ดังนั้นจึงควรให้ความสนใจเพื่อร่วมงานโดยการทักทายปราศรัย ถามในสิ่งดีๆ ของเพื่อนร่วมงาน เช่นผลงานที่ได้รับความสำเร็จ ครอบครัวที่อบอุ่นลูกๆ ที่เจริญก้าวหน้า ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกพอใจและเป็นสุข
  2. ยิ้มแย้ม คือ การยิ้มของบุคคลให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง มักแสดงให้เห็นถึงความนิยมชมชอบ ชอบพอ               รักใคร จึงเห็นได้ว่าการยิ้มเป็นหัวใจของการสร้างสัมพันธภาพโดยไม่จำกัดสถานะ เชื้อชาติ เพศ หรือวัย แต่ขณะเดียวกันก็ควรใช้การยิ้มให้เหมาะสมกับกาลเทศะด้วย ถ้ายิ้มผิดเวลาผิดที่ก็อาจทำลายความสัมพันธ์กันได้
  3. แสดงการจำได้   เช่น จำชื่อ เหตุการณ์ หรือเรื่องราวที่ดีๆ ที่เคยเกี่ยวข้องกันจำความสำเร็จที่เพื่อนได้รับ จำวันเกิด วันสมรสของเพื่อนได้ ฯลฯ ซึ่งเมื่อมีโอกาสก็ทักทายหรือคุยเรื่องเก่าที่เก็บไว้ในความทรงจำ
  4. เป็นคู่สนทนาที่ดี  การแสดงตนเป็นคู่สนทนาที่ดีของเพื่อนร่วมงานนั้น อาจโดยทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี ปล่อยให้อีกฝ่ายได้พูดคุยตามความต้องการของเขา ทั้งนี้โดยต้องฟังอย่างตั้งใจเพื่อให้จับใจความได้และตอบสนองต่อคำพูดของคู่สนทนา ไม่ขัดจังหวะไม่ขัดคอ ซึ่งน่าจะช่วยให้ผู้พูดมีความสุข แต่ควระวัง งดการพูดเสริมเมื่อมีการนินทาบุคคลที่สาม เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
  5. แสดงความมีน้ำใจ ซึ่งการมีน้ำใจต่อผู้อื่นอาจแสดงอกกได้หลายแนวทาง เช่น การเป็นผู้ให้ความรัก ให้ความห่วงใย แบ่งปันช่วยเหลือ ให้อภัย ให้กำลังใจ คุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยซึ่งควรรักษาไว้และแสดงต่อเพื่อนร่วมงานด้วยด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้สัมพันธภาพเป็นไปด้วยดี
  6. แสดงความมีน้ำใจ ซึ่งการมีน้ำใจต่อผู้อื่น เนื่องจากเพื่อนร่วมงานแต่ละคนในหน่วยงานมักมีวันพิเศษหรือเหตุการณ์สำคัญของชีวิตด้วยกันทั้งนั้น เช่น อาจจะเป็นวันรับรางวัลพิเศษการได้เหรียญเชิดชูเกียรติ 
  7. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  คือไม่ผูกขาดอยู่กับความคิดของตนเองข้างเดียว ผู้ที่ผูกขาดความคิดเห็นของตนมักเป็นคนที่ชอบเอาชนะเมื่อแสดงความคิแห็น ถือเอาความเห็นของตนว่าสำคัญกว่าความเห็นของผู้อื่น มักโต้แย้งความเห็นของผู้อื่น ฯลฯ การแสดงวิธีนี้ต่อผู้อื่นมักทำให้ขาดเพื่อน ไม่มีใครอยากคบหาสมาคม หัวหน้างานก็มักไม่อยากมอบหมายงานให้ทำงานสำคัญ เพราะมีลักษณะ “เข้าที่ไหนวงแตกที่นั่นฯ จึงควรทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ พยายามรับฟังและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  8. แสดงการยอมรับนับถือผู้อื่นตามสถานภาพ  ทั้งนี้เนื่องจากเพื่อนร่วมงานของเรานั้น บางคนมีอาวุโสด้านอายุ อาจสูงส่งด้วยชาติตระกูล อาจมีความรู้สูง อาจมีทักษะประสบการณ์เหนือผู้อื่นหรืออาจมีตำแหน่งงานเหนือใครอยู่บ้าง ผู้มีจิตใจสูง มีวุฒิภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ ควรให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนร่วมงานตามสถานภาพนั้น ๆ หรืออย่างน้อยก็ยอมรับในศักดิ์ศรีของความเป็นเพื่อนมนุษย์และเพื่อนร่วมงาน

การสื่อสารในองค์การ

  1. การสื่อสารจากบนลงล่าง (Downward Communication) คือ การสื่อสารจากบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าไปยังบุคคลที่มีตำแหน่งต่ำกว่า หรือการสื่อสื่อสารจากผู้บริหารไปยังผู้ปฏิบัติเช่น ผู้บังคับบัญชาสั่งงานไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
  2. การสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Upward Communication)  คือการส่งข้อมูลจากบุคคล จากบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าไปยังบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่า หรือการส่งข้อมูลจากผู้ปฏิบัติไปยังผู้บริหารร เช่น กล่องแสดงความคิดเห็น การสำรวจ ความคิดเห็นของพนักงาน เป็นต้น
  3. การสื่อสารในแนวนอน (Horizontal Communication) คือการสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในระดับเดียวกันในองค์การ และสำหรับบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกันมีผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน
  4. การสื่อสารข้ามสายงาน (Cross Functional Communication )  คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่คนละหน่วยงานกันหรือระหว่างหน่วยงานซึ่งเป็นการติดต่อข้ามแผนกของหน่วยงาน บุคคลที่ติดต่อกันอาจอยู่ในตำแหน่งเท่ากันหรือระดับตำแหน่งต่างกันก็ได้ เช่น บุคคลที่อยู่ฝ่ายผลิตติดต่อกับบุคคลที่อยู่ในฝ่ายตลาด

             การสื่อสารทีดี จะต้องมีความถูกต้อง กระชับ ตรงประเด็น ชัดเจน สื่อโดยตรง ง่ายๆใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ ทบทวน เน้นการสื่อสารสองทาง

             พฤติกรรมประสานงานที่ดี 7 ย  ยิ้มแย้ม ยกย่อง เยี่ยมเยียน ยินยอม หยิบยื่น เยือกเย็น ยืดหยุ่น

สื่อสารกับนาย  –  แก้ปัญหาให้นาย  – ยกย่องสิ่งที่นายช่วยเหลือ  – กระตุ้นให้นายพูด ทำอย่างตั้งใจ  – ป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์  –  เสนอวิธีใหม่ให้นาย  – จงรักภักดี  – ต่อรองบางครั้งถ้าไม่ถูกต้อง

สื่อสารกับเพื่อน   –  ช่วยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำเร็จ  – เข้าใจปัญหา และเปลี่ยนข้อมูล  – เป้าหมายเดียวกันทำด้วยกัน  – สร้างกลุ่มแก้ปัญหา  – ดึงเพื่อน

สื่อสารกับลูกน้อง   – เพิ่มความเข้าใจ  – ชมเมื่อทำดี   – แจ้งความดีลูกน้องให้นายทราบ  – ช่วยแก้ปัญหา  – ให้ข้อมูลใหม่ – ฝึก  – ไม่รู้บอกว่าไม่รู้  – ประเมินสม่ำเสมอ – พึ่งพากัน  – บทบาทชัดเจน – สื่อสารเพื่อสร้างเครือข่าย  – แลกเปลี่ยนข้อมูล – แนะนำ ทำต่อ อ้างอิง  – ความเห็น เสนอแนะ  – ให้กำลังใจ

                การประสานงาน (Coordination) คือ การสร้างเครือข่ายสัมพันธ์ให้เกิดความร่วมมือที่ดี ระหว่างบุคลากรในองค์การและหมายรวมถึงกับบุคคลต่างองค์การด้วย มุ่งหมายให้องค์การมีพลัง สามารถขับเคลื่อนให้การปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นไปด้วยความราบรื่นมีประสิทธิภาพ

คุณประโยชน์ของการประสานงาน

  1. ช่วยให้การทำงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
  2. ประหยัดทรัพยากรในสการบริหารทุกประเภทโดยเฉพาะเวลาในการทำงาน
  3. ช่วยลดข้อข้ดแย้งในการทำงาน การทำงานซ้ำซ้อน ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ
  4. สร้างความสามัคคีและความเข้าใจในหมู่คณะ เสริมสร้างขวัญของผู้ปฏิบัติงาน

การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

  1. เรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องกัน
  2. รับทราบปัญหา อุปสรรค ของหน่วยงานที่ต้องประสานงาน
  3. สร้างความคุ้นเคยกันระหว่างหน่วยงาน
  4. เมื่อเกิดเหตุการณ์เข้าใจผิด หรือมีข้อผิดพลาด ให้รีบค้นหาสาเหตุและร่วมช่วยกันแก้ไข
  5. มีการวางระบบการติดตามผลการปฏิบัติงานระหว่างกัน เพื่อสร้างความรับรู้ร่วมกัน

เทคนิคการประสานงานระหว่างบุคคล

  1. รู้เขารู้เรา พยายามผูกมิตรในโอกาสแรก และให้การช่วยเหลือเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน
  2. รู้จักขอความร่วมมือและรู้จักให้ความร่วมมือ
  3. งดเว้นการนินทาว่าร้ายผู้อื่น โดยให้แทนที่ด้วยการสรรเสริญและให้คำชมเมื่อได้พบหรือรับทราบการทำความดี
  4. มีการนิเทศงานที่ดี เคารพในอำนาจ หน้าที่ของกันและกัน งดเว้นการปัดความรับผิดชอบ หรือโยนความผิดให้ผู้อื่น
  5. เข้าใจข้อจำกัด ปญหาของกันและกัน เมื่อมีปัญหาให้บอกกล่าว และแนะนำกัน
  6. ยินดีรับฟังคำติชม รับฟังคำแนะนความเห็นของคนอื่นแม้ไม่ได้เห็นด้วยก็ควรฟัง     

 ผลที่ได้รับ 

  1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  2. นำเทคนิคมาใช้ในการประสานงานระหว่างบุคคล
  3. สามารถสื่อสารกับเจ้านาย กับลูกน้องและกับเพื่อนร่วมงานได้ดียิ่งขึ้น
Post Views: 950
Share
0
thanyaluk
thanyaluk

Related posts

August 10, 2020

คู่มือเทคนิคการให้บริการที่เป็นเลิศ


Read more
September 20, 2019

ศึกษาดูงาน โรงไฟฟ้ากระบี่ จังหวัดกระบี่ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง จ.กระบี่


Read more
September 20, 2019

การเขียนผลงานเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)